ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลตำบลศรีวิไล พ.ศ.2566 - 2570
วิสัยทัศน์
“ศรีวิไลเมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรมนำการบริหาร สืบสานวัฒนธรรม สร้างสังคมแข็งแรง”
ยุทธศาสตร์จังหวัด
1. การส่งเสริมการผลิตและพัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า
2. พัฒนาขีดความสามารถการค้าและการลงทุน
3. พัฒนาการท่องเที่ยว การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
4. รักษาความสงบ ความมั่นคง และพัฒนาคนสู่สังคมคุณภาพ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด
1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การผังเมือง การบริหารจัดการน้ำ และ ส่งเสริมพลังงานทดแทนการพัฒนา
ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
2.การส่งเสริมการเกษตร อาชีพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนการพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริม
การลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ
3. การส่งเสริมการท่องเที่ยว กีฬา นันทนาการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการพัฒนา
ด้านศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. การส่งเสริมการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ สาธารณสุขตลอดจนอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี
และภูมิปัญญาของท้องถิ่น
5. การพัฒนายกระดับการบริหารจัดการภาครัฐ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลตำบลศรีวิไล
1.การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2.การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
3.การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
4.การพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ
5.การพัฒนาการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
7.การพัฒนาด้านระบบการบริหารจัดการที่ดี
พันธกิจ
1.ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
2.ยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน และชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้
3.ส่งเสริมการจัดระเบียบชุมชน สังคมและรักษาความสงบ
4.ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5.เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
6.ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
7.ส่งเสริมการพัฒนาการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครอง
เป้าประสงค์
1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
2.ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.ชุมชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4.ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนและลดค่าใช้จ่าย
5.มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี และยั่งยืน
6.อนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
7.องค์กรมีระบบการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้
|