นายสมเกียรติ ลามคำ นายกเทศมนตรีตำบลศรีวิไล
|
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1) ด้านกายภาพ
1.1 ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลศรีวิไล ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ระยะห่างจากจังหวัดบึงกาฬ 27 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ จดตำบลนาสิงห์ อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
ทิศใต้ จดตำบลชุมภูพร อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
ทิศตะวันออก จดตำบลนาสิงห์ อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
ทิศตะวันตก จดตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอศรีวิไล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดบึงกาฬ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และโปร่ง มีระดับความสูงโดยเฉลี่ย 1,200 ฟุต จากระดับน้ำทะเล
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอศรีวิไลมี 3 ฤดู ในฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียส ในฤดูฝนจะมีฝนตกหนัก เนื่องจากมีภูมิประเทศอยู่ใกล้กับแม่น้ำโขง ในฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฏาคม ถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์
1.4 ลักษณะของดิน
สภาพพื้นที่ทั่วไปของเทศบาลตำบลศรีวิไล เป็นพื้นที่ราบมีลักษณะที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำการเกษตรและใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำของเทศบาลตำบลศรีวิไลที่ใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม อุปโภค และบริโภคที่สำคัญได้แก่ หนองจันทร์ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ในใจกลางเมือง และมีหนองน้ำขนาดเล็กต่างๆกระจายอยู่รอบๆ ได้แก่ หนองแวง หนองแวงยาว หนองขอนยางหัก หนองเข้น้อย หนองขอนใหญ่ หนองอีเมียง และมีลำห้วยใหญ่ที่สำคัญ คือ ลำห้วยฮี้ ห้วยกำแพงใหญ่ ห้วยใหญ่ ห้วยกำแพงแล้ง ห้วยต้อง
2) ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1. เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลศรีวิไล มีพื้นที่ทั้งสิ้น 53.70 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลของตำบลศรีวิไล มีจำนวน 12 หมู่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาล แบ่งออกเป็น ๒ เขต ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ ๑ ประกอบด้วย ชุมชนศรีวิไล มีทั้งสิ้น 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านศรีวิไล, บ้านศรีวิไลชุมพร,บ้านศรีวิไลสามัคคี,บ้านใหม่พัฒนา,บ้านศรีวิไลรุ่งเรืองและศรีวิไลพัฒนา
เขตเลือกตั้งที่ ๒ ประกอบไปด้วย ชุมชนหนองจันทร์ มีทั้งสิ้น 6 หมู่บ้าน ได้แก่
บ้านหนองจันทร์,บ้านหนองจันทร์สาคร,บ้านอู่คำ,บ้านหนองจันทร์โนนมณี,บ้านผาสุกและบ้านคำประเสริฐ
3) ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร
เทศบาลตำบลศรีวิไลนั้นประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ สังคมมีความสัมพันธ์กันระบบเครือญาติ มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีวิถีชีวิตเรียบง่ายแบบชนบท ตำบลศรีวิไลมีประชากร รวมทั้งสิ้น 11,053 คน ความหนาแน่นต่อตารางกิโลเมตร 206 คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนครัวเรือน 3,555 หลังคาเรือน
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลศรีวิไล ณ วันที่ 30 กันยายน 2559
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
จำนวนครัวเรือน |
ชาย |
หญิง |
รวม |
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12 |
ศรีวิไล
ศรีวิไลชุมพร
ศรีวิไลสามัคคี
ใหม่พัฒนา
หนองจันทน์
หนองจันทน์สาคร
อู่คำ
หนองจันทน์โนนมณี
ผาสุก
คำประเสริฐ
ศรีวิไลรุ่งเรือง
ศรีวิไลพัฒนา
|
594
375
436
651
414
668
325
382
249
388
534
545 |
633
393
424
599
402
650
305
380
294
377
517
518 |
1,227
768
860
1,250
816
1,318
630
762
543
765
1,051
1,063 |
522
336
266
341
248
415
247
189
158
167
353
313 |
รวม |
5,561 |
5,492 |
11,053 |
3,555 |
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ช่วงอายุ |
ชาย |
หญิง |
รวม |
อายุต่ำกว่า 5 ปี
|
395 |
378 |
773 |
อายุ 5- 18 ปี
|
1,026 |
934 |
1,960 |
อายุ 18-60 ปี
|
3,471 |
3,426 |
6,897 |
อายุ 60 ปีขึ้นไป
|
669 |
754 |
1,423 |
รวมทั้งสิ้น |
5,558 |
5,492 |
11,053 |
4) สภาพทางสังคม
4.1. การศึกษา (ข้อมูล ณ 10 มิถุนายน 2559)
1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีจำนวน 3 แห่ง แยกเป็น
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศรีวิไล จำนวนนักเรียน 100 คน จำนวนครูผู้ดูแลเด็ก 2 คน
จำนวนผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก 3 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดอรัญญวิเวก จำนวนนักเรียน 85 คน จำนวนครูผู้ดูแลเด็ก 1 คน
จำนวนผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก 3 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดจันทวารี จำนวนนักเรียน 119 คน จำนวนครูผู้ดูแลเด็ก 2 คน
จำนวนผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก 5 คน
2) โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล จำนวนนักเรียน 981 คน
3) โรงเรียนบ้านหนองจันทน์ จำนวนนักเรียน 362 คน
4) โรงเรียนศรีวิไลวิทยา จำนวนนักเรียน 1,552 คน
5) ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) จำนวน 1 แห่ง
- จำนวนนักเรียนในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 919 คน แยกเป็น
ระดับประถมศึกษา 40 คน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 419 คน
ระดับมัธยมปลาย 463 คน
4.2. ด้านสาธารณสุข
1) โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 1 แห่ง เตียงคนไข้ จำนวน 30 เตียง
2) ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 12 แห่ง
3) บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกสังกัดในเทศบาล
- แพทย์ จำนวน 4 คน
- ทันตแพทย์ จำนวน 2 คน
- พยาบาล จำนวน 28 คน
- เภสัชกร จำนวน 3 คน
- เจ้าพนักงานสาธารณสุข จำนวน 1 คน
- นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 4 คน
- เจ้าหน้าที่อื่นๆ จำนวน 9 คน
- อสม. จำนวน 165 คน
5) การบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคม การจราจร
5.1.1. ทางรถยนต์
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 ในทางทิศตะวันออกเข้าสู่อำเภอเมืองบึงกาฬ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 ในทางทิศตะวันตก เข้าสู่อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ และเข้าสู่จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี เป็นเส้นทางที่จะเข้าสู่กรุงเทพมหานคร
- รถประจำทางตามเส้นทางขนส่งทางบกมีสาย 225 จากอำเภอเมืองบึงกาฬ – จังหวัดอุดรธานีและรถยนต์ปรับอากาศ สาย 407, สายแอร์อุดร,สายธนลาภทัวร์จากอำเภอเมืองบึงกาฬ – กรุงเทพมหานคร การจราจรไม่ติดขัด เดินทางไป – มาสะดวก
5.2. การประปา
1) จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา 2,463 ครัวเรือน
2) กิจการประปาเป็นของเทศบาลตำบลศรีวิไล
3) น้ำประปาผลิตได้ประมาณวันละ 1,100 ลูกบาศก์เมตร/วัน ปริมาณการใช้น้ำประปาจำนวน 800 ลบม./วัน
4) แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาคือหนองจันทน์สามารถผลิตน้ำประปาได้ทั้งปี
5.3. ไฟฟ้า
1) จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 2,898 ครัวเรือน
2) ไฟฟ้าสาธารณะ(ไฟฟ้าส่องทาง) มีจำนวน 610 จุดครอบคลุมถนน 50 สาย
3) ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ได้จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
5.4. การสื่อสารและโทรคมนาคม
1) จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคลในพื้นที่มี 620 หมายเลข
2) จำนวนโทรศัพท์สาธารณะ 35 จุด
3) ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
5.5. การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
1) รถยนต์ที่ใช้ในการเก็บขยะ รวม 2 คัน แยกเป็น
- รถยนต์คันที่ 1 รถเก็บขยะขนาดบรรจุ 12 ลบ.หลา
- รถยนต์คันที่ 2 รถเก็บขยะขนาดบรรจุ 10 ลบ.หลา
(รถยนต์คันที่ ๒ ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม)
2) ขยะที่เก็บขนได้ จำนวน 70 ลบ.หลา/วัน
3) กำจัดขยะโดยวิธีกองบนพื้นแล้วเผาและฝังกลบ
4) ที่ดินสำหรับกำจัดขยะ จำนวน 4 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 7
ตำบลศรีวิไล ห่างจากเขตเทศบาลตำบลศรีวิไลเป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และคาดว่าสามารถกำจัดขยะได้อีกไม่เกิน 3 ปี
5.6 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1) รถยนต์ดับเพลิง ขนาดบรรจุ 6,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
2) รถบรรทุกน้ำ ขนาดบรรจุ 1,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
3) เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม จำนวน 1 เครื่อง
4) พนักงานดับเพลิง จำนวน 5 คน
5) อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 212 คน
6) ระบบเศรษฐกิจ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้าง มีประมาณ 26.25 % ที่ประกอบอาชีพค้าขาย รายได้ต่อหัวประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ 35,000 บาท/ปี
6.1 การเกษตรกรรม
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ มีพื้นที่เกษตร จำนวน 73,796 ไร่ จำนวนครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 1,752 ครัวเรือน ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา
6.2 การพาณิชยกรรมและบริการ
1) สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
- ปั๊มน้ำมัน 5 แห่ง
- ตลาดสด 1 แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป 257 แห่ง
- โรงสีข้าว 16 แห่ง
- โรงขนมจีน 5 แห่ง
- โรงงานน้ำดื่ม 2 แห่ง
- รีสอร์ท 6 แห่ง
2) สถานประกอบการพาณิชย์
- โรงฆ่าสัตว์ 1 แห่ง
3) สถานประกอบการด้านบริการ
- สถานที่จำหน่ายอาหาร 14 แห่ง
6.3 องค์กรและกลุ่มอาชีพ
1) กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ ม.4
2) กลุ่มสหกรณ์ สกย.ศรีวิไล ม.11
3) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ม.10
4) กลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรโพรไบโอติก ม.1
6.4 แหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการ
1) สนามฟุตบอล จำนวน 4 แห่ง
2) สนามบาสเกตบอล จำนวน 5 แห่ง
3) สนามตะกร้อ จำนวน 5 แห่ง
4) สนามเด็กเล่น จำนวน 3 แห่ง
5) สวนสาธารณะ จำนวน 1 แห่ง
6) ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง
7) ศาสนาประเพณีวัฒนธรรม
1) ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 90 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลมีวัดจำนวน 11 วัด
2) ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขต เทศบาลมีโบสถ์คริสต์ จำนวน 1 แห่ง
ด้านวัฒนธรรม
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
1) ประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี กิจกรรมมีการประกวดขบวนแห่นางสงกรานต์ โดยแต่ละตำบลส่งขบวนแห่เข้าประกวด ซึ่งประเพณีสงกรานต์นี้จัดร่วมกันทั้งอำเภอ
2) ประเพณีบุญบั้งไฟ จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี
3) ประเพณีแห่เทียนพรรษา จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ของทุกปี มีการจัดขบวนแห่เทียนพรรษาโดยมีการแข่งขันเฉพาะในเขตเทศบาล
4) ประเพณีบุญกวนข้าวทิพย์ จัดขึ้นในเดือนตุลาคม ของทุกปี
5) ประเพณีบุญแข่งเรือ จัดขึ้นประมาณเดือนกันยายน กิจกรรม มีการแข่งขันเรือยาว และเรือกาบ รับสมัครทั่วไปไม่เฉพาะในเขตเทศบาลบริเวณการแข่งขันหนองจันทน์
6) ประเพณีลอยกระทง จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ของทุกปี
8) ทรัพยากรธรรมชาติ
แหล่งน้ำ
1) หนองปลาค้าว
2) หนองจันทน์
3) สวนรัชมังคลาภิเษก
4) หนองอีเมี่ยง
5) ห้วยฮี้
6) หนองไข่นก
7) ลำห้วยต้อง
8) หนองแวง
9) หนองยาง
10) หนองหัวควาย
11) หนองแข้น้อย
9) ศักยภาพของเทศบาลตำบลศรีวิไล
9.1 โครงสร้างและอัตรากำลังในการบริหารของเทศบาลตำบลศรีวิไล
เทศบาลตำบลศรีวิไล เป็นเทศบาลขนาดกลาง ในด้านโครงสร้างกำหนดโครงสร้างการ แบ่งส่วนราชการตามแผนอัตรากำลัง 3 ปี (2558 -2560) ออกเป็น 7 หน่วยงาน มีอัตรากำลังบุคลากร ดังนี้
ชื่อหน่วยงาน
|
พนักงานเทศบาล |
ลูกจ้าง
ประจำ |
พนักงานจ้างตามภารกิจ |
พนักงานจ้างทั่วไป |
รวม |
1. สำนักปลัด
1. สำนักปลัด
2. กองคลัง
3. กองสาธารณสุข
4. กองช่าง
5. กองประปา
6. กองการศึกษา
7. กองสวัสดิการสังคม
|
10
5
3
4
2
11
3 |
1
-
1
-
-
-
- |
5
3
5
5
5
6
- |
8
1
10
1
1
2
- |
24
9
19
10
8
19
3 |
รวม |
38 |
2 |
29 |
23 |
92 |
9.2 โครงสร้างในการบริหารงานของเทศบาลตำบลศรีวิไล ประกอบด้วย
ฝ่ายบริหาร
1. นายกเทศมนตรี 1 คน
2. รองนายกเทศมนตรี 2 คน
3. เลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน
4. ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน
ฝ่ายกิจการสภา
1. สภาเทศบาล จำนวน 12 คน ประกอบด้วย
- ประธานสภาเทศบาล 1 คน
- รองประธานสภา 1 คน
- สมาชิกสภาเทศบาล 10 คน
9.3. การคลังท้องถิ่น
- การบริหารรายรับ-รายจ่ายในปีงบประมาณที่ผ่านมา เปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี
ปี พ.ศ.
รายการ |
พ.ศ.2555 |
พ.ศ.2556 |
พ.ศ.2557 |
พ.ศ.2558 |
พ.ศ.2559 |
รายรับ |
51,688,684.19 |
56,916,381.50 |
62,047,700.88 |
59,755,555.23 |
69,062,906.37 |
รายจ่าย |
46,569,447.96 |
49,298,517.73 |
49,299,726.78 |
50,746,196.10 |
64,226,847.12 |
|
|