นายสมเกียรติ ลามคำ นายกเทศมนตรีตำบลศรีวิไล
|
ภารกิจ อำนาจหน้าที่
โครงสร้างการบริหารราชการ แบ่งเป็น ๓ ส่วน ดังนี้
๑. สภาเทศบาล ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งคอยควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหาร สภาเทศบาล ประกอบด้วย สมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี สมาชิกสภาตำบลศรีวิไล มีจำนวน ๑๒ คน ประธานสภามีหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาเทศบาล ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมเทศบาล ควบคุม บังคับบัญชา รักษาความสงบ และเป็นตัวแทนสภาในกิจการภายนอก
๒. นายกเทศมนตรี ทำหน้าที่เป็นผู้นำ ฝ่ายบริหารกิจการของเทศบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง สามารถแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีเป็นผู้ช่วยผู้บริหาร รวมทั้งสามารถแต่งตั้งที่ปรึกษา และเลขานุการ รวมกันได้ไม่เกิน ๔ คน
๓. พนักงานเทศบาล เป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเทศบาล ที่ปฏิบัติงานอันเป็นภารกิจประจำสำนักงานหรือนอกสำนักงานก็ได้ ซึ่งภารกิจหลักของเทศบาลมีความเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน อย่างใกล้ชิด เพราะหน้าที่ของเทศบาลต้องติดต่อและให้บริการแก่ประชาชน ตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในเรื่องงานการทะเบียนราษฎร การสาธารณูปโภค การศึกษา การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น ซึ่งนับว่า เป็นภาระหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่นมาก โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้นำการบริหารและบังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานเทศบาล
เทศบาลตำบลศรีวิไล กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด นโยบายของรัฐบาลและนโยบายผู้บริหารท้องถิ่น โดยกำหนดภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวอยู่ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้
๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
๑) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำและทางระบายน้ำ (มาตรา ๑๖(๒) มาตรา ๕๐
(๒) มาตรา ๕๑(๘)
๒) การสาธารณูปโภคแลการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา ๑๖(๔)
๓) การสาธารณูปโภค (มาตรา ๑๖(๙)
๔) การสาธารณูปการ (มาตรา ๑๖ (๕)
๕) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (มาตรา ๑๖(๒๖)
๖) การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
๗) การจัดให้มีและการบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
๒. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑) การจัดการศึกษา (มาตรา ๑๖(๙)
๒) การส่งเสริมกีฬา (มาตรา ๑๖ (๑๔)
๓) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (มาตรา ๑๖ (๑๙)
๔) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา ๑๖(๑๓)
๕) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กสตรีคนชราและผู้ด้อยโอกาส
(มาตรา๑๖ (๑๐)
๖) การควบคุมอาคาร (มาตรา ๑๖(๒๘)
๗) การจัดให้มีโรงฆ่าสัตว์
๘) การจัดให้มีสุสานและฌาปนสถาน
๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
๑) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (มาตรา ๕๐ (๑)
๒) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา ๑๖(๑๒))
๓) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยโรงมหรสพและ
สาธารณสถานอื่นๆ (มาตรา ๑๖ (๒๓))
๔) การผังเมือง (มาตรา ๑๖ (๒๕))
๕) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา ๑๖ (๒๙)
๖) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา ๑๖ (๑๗))
๔. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
๑) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร (มาตรา ๕๑ (๕))
๒) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา ๑๖ (๑))
๓) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบหรือท่าข้ามและที่จอดรถ (มาตรา๑๖(๓) มาตรา ๕๑(3)
๔) การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา ๑๖(๖))
๕) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา ๑๖(๗))
๖) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา ๑๖ (๘))
๗) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (มาตรา ๑๖(๒๒))
๕. ด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑) การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๑๖ (๒๔))
๒) การดูแลรักษาที่สาธารณะ (มาตรา ๑๖ (๒๗))
๓) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย (มาตรา ๑๖(๑๘))
๖.ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
๑) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา ๕๐(๘)และมาตรา ๑๖ (๑๑))
๒) การจัดการศึกษา การทำนุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม
๗. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
๑) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
มาตรา ๑๖(๑๕)
๒) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น มาตรา ๑๖ (๑๖)
๓) การควบคุมการเลี้ยวสัตว์ มาตรา ๑๖ (๒๑)
๔) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มาตรา ๑๖ (๓๐)
|
|